การทำขวัญเด็ก



การทำขวัญเด็ก




ประเพณีการทำขวัญเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม   เกิดจากความเชื่อและความคิดของคน   เมื่อคนเชื่อหรือคิดอย่างไรก็แสดงออกมาให้ปรากฏ  เช่นความเชื่อทางศาสนา  ทำให้เกิดประเพณีเกี่ยวกับศาสนาหลายประการ  เช่น การบวชนาค  การให้ทานไฟ  เป็นต้น
        จากการได้ลงพื้นที่สำรวจต้นทุนทางวัฒนธรรมของชาวบ้านชุมชนหนองกก  ตำบลร่อนพิบูย์  อำเภอร่อนพิบูลย์   จังหวัดนครศรีธรรมราช  ก็จะพบว่าส่วนใหญ่ชาวบ้านที่นี่ก็ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปตามยุคสมัยใหม่  จนวัฒนธรรมหรือต้นทุนทางสังคมที่เก่าแก่มีหลงเหลืออยู่น้อย  แต่ใช่จะไม่มีเลยซะทีเดียว   
        ซึ่งข้อมูลที่ดิฉันได้มาก็คือ การทำขวัญเด็ก  ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด  จากการสัมภาษณ์คุณยายแกวดพิบูลย์ เป็นชาวบ้านในละแวกนั้น  ท่านบอกว่าท่านเคยหมอเป็นทำขวัญเด็กมาก่อน จึงพอจะมีความรู้เกี่ยวกับพิธีนี้อยู่บ้าง และท่านก็ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับพิธีการและขั้นตอนต่างๆให้ฟัง แต่เนื่องจากหลังๆนี้ยายแกวดบอกว่าไม่ค่อยมีใครไหว้วานให้ไปประกอบพิธีเพราะด้วยสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้ท่านหลงลืมไปบ้างในบางขั้นตอน    ซึ่งภายหลังดิฉันได้มาศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ซึ่งรายละเอียดเด็กของพิธีการทำขวัญเด็กก็มีดังต่อไปนี้
        จุดประสงค์  ประเพณีการทำขวัญเด็ก  มีเพื่อให้เกิดสรมงคลแก่เด็ก  ให้เด็กหายจากเจ็บไข้ได้ป่วย  หวาดผวาสะดุ้งตกใจ  การทำขวัญเด็กทำได้  ๒  กรณี 
        กรณีแรก      ถ้าเด็กยังไม่ผ่านพิธีเชิญแม่ซื้อ จะต้องทำพิธีเชิญแม่ซื้อก่อนจึงจะทำขวัญ  อาจจะทำพร้อมกัน  ๒  พิธีในวันเดียว
        กรณีที่ ๒     บิดามารดาไม่ประสงค์จะทำพิธีเชิญแม่ซื้อ  เพราะเห็นว่าลูกของตนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย จะทำขวัญเพียงอย่างเดียวก็ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น