พิธีทำขวัญ
หลังจากเชิญแม่ซื้อเสร็จ หมอจะเริ่มพิธีทำขวัญต่อไป
จุดประสงค์
เพื่อให้เกิดสรมงคลแก่เด็กให้อายุมั่นขวัญยืน ขวัญเป็นสิ่งซึ่งคนสมมุติขึ้น ไม่มีตัวตน
แต่มีชีวิตจิตใจเหมือนคน
ชาวบ้านเชื่อว่าขวัญจะอยู่ในตัวคนแต่เมื่อได้รับความตกใจหรือกลัว ขวัญจะหนีออกจากร่างกาย ทำให้เกิดความเจ็บป่วย ฉะนั้นเพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่กับตัว
ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญซึ่งหนีออกจากร่างไปให้กลับมาเข้าอยู่ในร่างกายปกปักรักษาคนให้อยู่เย็นเป็นสุข
การทำขวัญในสมัยก่อนทำเป็นพิธีใหญ่มาก ปลูกโรงพิธีมียกพื้น เสาหุ้มด้วยผ้าแดง มีผ้าคาดเพดาน เครื่องประกอบมากมาย ใช้บายศรีต้นกล้วย แต่ปัจจุบัน
ทำเป็นพิธีเล็กๆ ใช้บายศรีปากชาม มีโรงพิธี
เครื่องประกอบในพิธี
๑. บายศรี
๒. ถ้วยขวัญ(ถ้วยเล็กๆ ใส่ของคาวหวานวางไว้ยอดบายศรี)
๓. เทียน
แบ่งเป็น เทียนขวัญ เทียนชัย ( เทียนเล่มใหญ่ดับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นมงคลแก่ตัวเด็ก) เทียนบูชาครู เทียนติดแว่น
๙ เล่ม
๔. หมาก
๑๘ คำ ( ใส่บูชาครู
๙ คำ เพดาน
๙ คำ )
๕. แว่นเวียนเทียน ๓
แว่น (มีแว่นรูปอิศวร เรียกแว่นเอก
รูปสังข์ เรียกแว่นโท รูปนาค
เรียกแว่นตรี)
๖. ด้ายสายสิญจน์
๗. หอยสังข์
๘. เสื้อผ้าเด็กตามเพศ ๑ ชุด
๙. เฉี่ยนหมาก
๑ สำรับ
๑๐. มะพร้าวอ่อน
๑ ผล ส้ม
กล้วย
๑๑. ใบไม้ดับเทียน ๓
ชนิด คือ ใบยอ
ใบทองหลาง ใบพลู ชนิดละ ๙ ใบ
๑๒. แป้ง
น้ำมัน สำหรับเจิมหน้าเด็ก
๑๓. ข้าวสิบสอง ( จัดเป็นสำหรับถ้วยเล็กๆ ใช้ของคาว
๕ อย่าง ของหวาน
๖ อย่าง น้ำ ๑ ขันเล็ก
จัดวางในถาด สิ่งที่ขาดไม่ได้ของคาวคือ
ยำ ของหวานคือ ขนมถั่ว ขนมงา )
เมื่อตระเตรียมทุกส่งอย่างเรียบร้อยแล้ว หมอตกแต่งบายศรีและถ้วยขวัญ
การตกแต่งบายศรีสมัยก่อนจะจัดทำอย่างพิสดาร แกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆใส่ไว้ในบายศรีแต่ละชั้น การเย็บบายศรีใช้ใบกล้วยตานี การตกแต่งบายศรีจะต้องมีดอกไม้แซมบายศรี เพื่อความสวยงาม การแกะรูปสัตว์ต่างๆในปัจจุบันไม่มี
การตกแต่งถ้วยขวัญ สิ่งของที่จะใส่ในถ้วยขวัญได้แก่ ของหวาน
ของคาว กล้วย อ้อย
ปลามีหัวมีหาง ขนมต้มขาว
(ทางภาคใต้เรียก ขนมโค) ลูกใหญ่ๆ
๓ ลูก ไข่เป็ดต้มสุกแล้ว ๑ ฟอง
พลูจีบ ๓ คำ เทียนขวัญ
๑ เล่ม แหวนสวมเทียน
๑ วง กระโจมปิดทำด้วยใบตองเป็นรูปกรวย
ยอดกรวยตัดให้เป็นรูปวงกลมพอที่จะสอดเทียนได้ ถ้วยขวัญวางไว้ยอดบายศรี
ห้องพิธีจะต้องมีโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ผ้าดาดเพดาน
ใช้ผ้าขาว หมอน ๑ ใบ
ผ้าขาวปูที่ครูอีก ๑ ผืน
นำเอาบายศรีและเครื่องประกอบพิธีมาวางบนผ้าขาวซึ่งปุไว้หน้าโต๊ะหมู่ ด้ายสายสิญจน์วงรอบตัวเด็ก แล้วโยงเพดาน
การทำพิธี
เมื่อจัดวางทุกสิ่งเรียบร้อยแล้ว
หมอผู้กระทำพิธีจะให้เด็กเข้าไปนั่งในวงด้ายสายสิญจน์ บุคคลอื่นๆ ห้ามเข้าไปในวงด้ายนอกจากแม่ของเด็ก
หมอจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัยในกรณีซึ่งทำต่อจากการทำแม่ซื้อ หมอไม่ต้องบูชาพระรัตนตรัย ชุมนุมเทวดาหรือสรรเสริญครูอีก เพราะบทดังกล่าวเหมือนกัน แต่ไม่ต้องทำพิธีเชิญแม่ซื้อ ถ้าทำเฉพาะพิธีทำขวัญ หมอจะต้องชุมนุมเทวดาหรือสรรเสริญครูเสียก่อน
จึงเริ่มทำขวัญ
หลังจากนั้นหมอจะกล่าวชมบายศรี เชิญขวัญ
ซึ่งตกไปในที่ต่างๆให้กลับมาอยู่กับตัวเด็ก
หมอจะเชิญขวัญตามทิศทั้งสิบทิศ
เมื่อเชิญขวัญจากทิศทั้งสิบจบลงแล้ว
หมอจะเชิญขวัญซึ่งไปตกตามป่าเขาซึ่งเต็มไปด้วยอันตราย ให้กลับสู่ร่างกาย
เมื่อเชิญขวัญจากที่ต่างๆกลับมาแล้ว
หมอก็กล่าวเชิญให้ขวัญเข้าอยู่ในบ้านอยู่เป็นเพื่อนเด็ก เด็กไม่มีความสุขถ้าไม่มีขวัญอยู่ด้วย และจัดการต้อนรับขวัญเป็นอย่างดีเพราะกลัวว่าเมื่อขวัญกลับมาแล้วจะหนีไปอีก เมื่อขวัญกลับมาอยู่กับตัวแล้ว ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องดูแลอย่าให้ขวัญหนีหายไปอีก
หลักจากนั้นอันเชิญเทวดาให้ปกปักรักษาตัวเด็กให้ปลอดภัยจากอันตราย
อุบาทว์จัญไรขอพระรัตนตรัยคุ้มครองรักษาทั้งกลางวันกลางคืน และขอให้มีชัยชนะศัตรู
เมื่อจบพิธีพระให้ชัยยันโตอวยพร
หมอทำพิธีเวียนเทียนจุดเทียนที่แว่นทั้งสาม ด้วยเทียนขวัญครั้งแรกเวียนแว่นพระอิศวร เอาแว่นวางลงบนไม้ ๓
ชนิดที่จัดไว้ โบกขึ้นลงสามครั้งเหนือบายศรี ส่งต่อให้ญาติๆ ที่มาประชุมในพิธีขวัญ เวียนจากขวาไปซ้าย เมื่อเวียนเทียนครบรอบ หมอจะรับแว่นมาถือแล้วดับเทียน เป่าควันให้ไปถูกตัวเด็ก แล้วเริ่มจุดแว่นต่อไปตามลำดับ เอก
โท ตรี วิธีเวียนเหมือนกันทั้งสามแว่น จบการเวียนเทียนหมอจะเป่าสังข์ เมื่อพระให้ชัยยันโตจบลง หมอทำพิธีป้อนข้าวขวัญ มะพร้าวอ่อนให้แก่เด็ก เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น